วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Credit Balance คืออะไร

            บัญชีซื้อขายหุ้นแบบเครดิตบาลานซ์หรือที่เดิมรู้จักกันในชื่อของบัญชีมา ร์จิ้น เป็นบัญชีสำหรับลูกค้าที่ต้องการมีอำนาจซื้อหุ้นมากกว่าเงินที่ตัวเองมีอยู่ โดยใช้เงินหรือหลักทรัพย์ของลูกค้าเองส่วนหนึ่งมาวางเป็นหลักประกันร่วมกับ การกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ อีกส่วนหนึ่ง เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อหุ้น บริษัทฯ จะหักเงินจากหลักประกันของลูกค้าที่วางไว้ก่อน และตราบใดที่ลูกค้ายังซื้อหุ้นในมูลค่าที่น้อยกว่าเงินสดหรือหลักประกันที่ วางเอาไว้ ก็ยังไม่ถือว่ามีการกู้ยืมจากบริษัทฯ และในกรณีที่ลูกค้ามีหลักประกันเป็นเงินสดคงเหลืออยู่ในบัญชี ลูกค้าก็ยังจะได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่คงเหลืออยู่ในบัญชีดังกล่าวด้วย แต่เมื่อลูกค้าสั่งซื้อหุ้นที่มีมูลค่าเกินส่วนที่ตนได้วางหลักประกันไว้ บริษัทฯ ก็จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นนั้น โดยลูกค้าต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินส่วนที่กู้ยืม สำหรับการซื้อขายในบัญชีเครดิตบาลานซ์ ไม่ใช่ว่าจะซื้อหุ้นได้ทุกตัว ลูกค้าสามารถซื้อขายได้เฉพาะหุ้นที่อยู่ในรายชื่อที่บริษัทหลักทรัพยแต่ละที่กำหนดไว้เท่านั้น  แต่ถ้าลูกค้าต้องการซื้อหุ้นนอกเหนือจากที่กำหนด ต้องซื้อผ่านบัญชีเงินสด
นอกจากนี้ยังมีคำที่ควรทราบอีก 3 คำ ได้แก่ Initial Margin Rate (IM), Maintenance Margin Rate (MM) และ Force Sell Rate สำหรับ

      IM ก็คือ อัตราส่วนของหลักประกันเริ่มแรกขั้นต่ำที่ลูกค้าต้องวางไว้กับบริษัทฯ เพื่อประกันการชำระหนี้ต่อมูลค่าหุ้นที่ซื้อนั่นเอง ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด IM ขั้นต่ำไว้ที่ 50% ขอยกตัวอย่างเพื่อจะได้เข้าใจได้ดีขึ้น หากลูกค้า ซื้อหุ้น A มูลค่า 100,000 บาท โดยโบรกเกอร์กำหนดอัตรา IM ของหุ้น A ไว้ที่ 50% หมายความว่าลูกค้าต้องวางเงินเป็นหลักประกันไว้กับบริษัทฯ 50,000 บาท และส่วนที่เหลืออีก 50,000 บาทนั้น ลูกค้าได้มาจากการกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ นั่นเอง สำหรับ IM นี้ บริษัทฯ ได้กำหนด IM ของหุ้นแต่ละกลุ่มแตกต่างกันได้ตามปัจจัยพื้นฐานและความเสี่ยงทางด้านสภาพ คล่อง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด

      MM คือ อัตราส่วนของหลักประกันซึ่งลดต่ำลงมาจนถึงจุดที่บริษัทฯ ต้องเรียกให้ลูกค้านำเงินหรือทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่ม ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้ที่ 35% หมายความว่า หากอัตราส่วนของหลักประกันซึ่งเคยอยู่ที่ 50% ลดลงมาเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากราคาหุ้นที่อยู่ในพอร์ตลดลง จน MM ต่ำกว่า 35% บริษัทฯ ก็ต้องบอกให้ลูกค้ามาวางหลักประกันเพิ่มเพื่อเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวขึ้นไป ให้ไม่ต่ำกว่า 35% หรือที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า call margin ถ้าอธิบายต่อจากตัวอย่างข้างต้น หากต่อมาราคาหุ้น A ลดลง ส่งผลให้มูลค่าหุ้น A ในพอร์ตของลูกค้าลดลงจาก 100,000 บาท เหลือ 75,000 บาท มูลค่าหุ้นที่ลดลงไป 25,000 บาท (100,000 - 75,000) นั้น จะไปกินส่วนที่เป็นหลักประกันของลูกค้าที่มีอยู่เดิม 50,000 บาทเข้าไปด้วย ทำให้หลักประกันที่เป็นเงินของลูกค้าเหลือเพียง 25,000 บาท (50,000 – 25,000)
มูลค่าหลักประกันที่เหลืออยู่ 25,000 บาทนี้เมื่อนำมาคิดเทียบกับมูลค่าหุ้น A ปัจจุบัน (75,000 บาท) ก็จะมีสัดส่วนเพียง 33.33% [(25,000/75,000) x 100] ซึ่งต่ำกว่า MM ที่กำหนดไว้ (35%) ดังนั้น ลูกค้าจะต้องนำเงินประกันมาวางให้บริษัทฯ อีก 1,250 บาท เพื่ออัตราส่วนที่ว่านี้จะได้เพิ่มจาก 33.33% กลับขึ้นมาเป็นไม่ต่ำกว่า 35% (35% ของมูลค่าหุ้น A ที่ 75,000 บาท = 26,250 บาท)

     Force Sell Rate คือ อัตราส่วนของหลักประกันที่ลดต่ำลงมาจนถึงจุดที่ต้องบังคับขายหุ้นในพอร์ตของ ลูกค้าออกไป ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้ที่ 25% โดยจะเกิดขึ้นกรณีที่เมื่อบริษัทฯ เรียกหลักประกันเพิ่มไปแล้ว และลูกค้ายังไม่นำหลักประกันมาเพิ่มตามเวลาที่กำหนดไว้ และต่อมามูลค่าหุ้นในพอร์ตของลูกค้าลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งมีผลให้อัตราส่วนของหลักประกันลดลงไปจนถึง 25% หรือต่ำกว่านั้น บริษัทฯ ก็จะดำเนินการบังคับขายหุ้นของลูกค้าออกไป (force sell) เพื่อนำเงินสดที่ได้จากการขายหุ้นมาชำระหนี้เงินกู้เพื่อให้ MM ของลูกค้าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

วัตถุประสงค์ของการกำหนดทั้ง 3 อัตรานี้ขึ้นมาควบคู่กับบัญชีแบบเครดิตบาลานซ์ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการ ผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าในฐานะที่เป็นลูกหนี้กู้ยืมเงินจากบริษัทฯ ไม่ให้ส่งผลกระทบรุนแรงนั่นเอง แม้บัญชีในแบบเครดิตบาลานซ์จะช่วยเพิ่มอำนาจซื้อของลูกค้าและเพิ่มความคล่อง ตัวในการลงทุนก็ตาม แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ลูกค้าต้องพิจารณาตัดสินใจอีกหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ต้องจ่าย หรือความเสี่ยงกรณีที่มูลค่าหุ้นลดลงไปมากและถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม (margin call) หรืออาจถูกบังคับขาย (force sell) ได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาเงื่อนไขให้ถี่ถ้วนก่อนเริ่มลงทุน เพื่อที่จะได้เป็นก้าวแรกสู่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างมีคุณภาพต่อไป

ข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์หลักทรัพย์กรุงศรี จำกัด (มหาชน) และ www.sec.or.th
หากมีข้อสงสัยสอบถาม  JIRASAK APINTANAPONG  E-MAIL  jirasak.dpu@gmail.com



วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Circuit breaker

มาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวในกรณีที่การซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมในตลาดหลักทรัพย์ เกิดตกต่ำลงอย่างมากจนผิดปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนโดยทั่วไปได้มีเวลาตรวจสอบข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดให้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ต่อไป ปัจจุบันระบบ Circuit breaker ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

มีหลักเกณฑ์ดังนี้     
ครั้งที่ 1 เมื่อ Set index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 10 ของค่าดัชนีปิดในวัน    ทำการก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็น     เวลา 30 นาที และ  
   
ครั้งที่ 2 เมื่อ Set index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 20 ของค่าดัชนีปิดในวัน      ทำการก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็น        เวลา 1 ชั่วโมง

หลังจากการทำงานครั้งที่ 2 ของ Circuit breaker แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้ทำการซื้อขายต่อไปจนถึงเวลาปิดทำการตามปกติ โดยไม่มีการหยุดพักการซื้อขายอีกหากระยะเวลาในรอบการซื้อขายที่ Circuit breaker ทำงานนั้น เหลือไม่ถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพักการซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อขายนั้น แล้วเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบการซื้อขายถัดไป


JIRASAK  APINTAPONG
E-mail jirasak.dpu@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558



สมุดบันทึก มีความสำคัญมากสำหรับการลงทุนในหุ้น


          การลงทุนในหลักทรัพย์ (หุ้น) หลายๆ ไม่ประสบความสำเร็จเพราะ ไม่ได้มีการทำการบันทึกต้นทุนที่แท้จริง ในการซื้อขายในแต่ละครั้ง หลายท่านเข้าใจว่า ราคาต้นทุนในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือที่เจ้าหน้าที่การตลาดแจ้งท่านอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะระบบบริษัทหลักทรัพย์จะบันทึกต้นทุนเป็นแบบ FIFO (Fist In Fist Out) 

          ตัวอย่าง เช่น หากลูกค้า ซื้อหุ้น PTT ราคา 350 บาท 100 หุ้น ใน เดือน ก.พ. และเดือน มี.ค.ซื้ออีก ในราคา 320 บาท 100 หุ้น  ราคาต้นทุนในเครื่อง จะอยู่ที่ 335 บาท  พอเดือน เม.ย.ราคาปรับขึ้นมา 330 บาท ลูกค้าขายไป 100 หุ้น โดยตั้งใจว่าจะเอาต้นทุน 320 บาท มาขายซึ่งก็ทำได้ในทางปฏิบัติ  ในความเป็นจริงลูกค้าจะเหลือ 100 หุ้น ในราคา 350 บาท แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแสดงต้นทุน 330 บาท ซึ่งลูกค้าก็จะเข้าใจผิดในจุดนี้ได้


จิระศักดิ์  อภิทนาพงศ์
โทร 081-349-1153 
jirasak.dpu@gmail.com

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บัญชีซื้อขายหุ้นมีกี่ประเภท ?
โดย  จิระศักดิ์ อภินทนาพงศ์ โทร 081-3491153

    ก่อนที่เราจะเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับทางบริษัทหลักทรัพย์ เราควรทำความเข้าใจบัญชีแต่ละประเภทและดูเราว่าเหมาะสมกับประเภทไหนบ้าง

ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ มี 3 ประเภท
1.บัญชีเงินสด (Cash)
2.บัญชีวางเงินสดล่วงหน้า (Cash Balance)
3.บัญชีกู้ยืม (Margin )

          บัญชีเงินสด (Cash)  คือบัญชีที่นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นได้ก่อนตามวงเงินที่ได้อนุมัติ  จากนั้นก็ชำระค่าซื้อภายใน 3 วันทำการ กับธนาคารที่ตกลงกันไว้ ในกรณีนักลงทุนขายหุ้นก็รอรับเงินภายใน 3 วัน เช่นกัน  บัญชีนี้ผู้ลงทุนจะต้องวางหลักประกัน 20% ของวงเงิน ซึ่งหลักประกันก็เป็นหุ้นปลอดภาระหนี้ หรือเงินสดวางไว้ที่บริษัทหลักทรัพย์
          จากที่กล่าวมาบัญชีเงินสด (Cash) เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการความสะดวกเพราะการรับจ่ายเงินจะทำผ่านธนาคารของนักลงทุนเท่านั้น แต่นักลงทุนต้องมีวินัยในตนเองเพราะการซื้อขายก่อนแล้วค่อยชำระเงินในภายหลัง

            บัญชีวางเงินสดล่วงหน้า หรือบัญชีเงินฝาก (Cash Balance) คือบัญชีที่ลูกค้าต้องการนำเงินสดฝากเข้ามาล่วงหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์ โดยที่ลูกค้าฝากเงินสดมาเท่าไหร่ก็ซื้อขายหุ้นได้ตามเงินที่ฝากเข้ามาจริง
            จากที่กล่าวมานี้บัญชีวางเงินสดล่วงหน้า (Cash Balance) เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการควบคุมการซื้อขายของตนเองให้อยู่ในปริมาณจำกัด เพราะบัญชีนี้มีเงินฝากเท่าไหร่ก็ซื้อขายได้ตามจำนวนที่ฝากเข้ามา

             บัญชีเงินกู้ หรือบัญชีกู้ยืม (Margin Account) (Credit Balance) คือ บัญชีที่ลูกค้ากู้ยืมเงินบริษัทหลักทรัพย์มาส่วนหนึ่่งและอีกส่วนหนึ่งก็ใช้เงินตนเอง การกู้ยืมเงินบริษัทหลักทรัพย์อนุญาตให้นำเงินสดมาเป็นหลักประกันส่วนหนึ่งหรือนำหลักทรัพย์อื่นๆที่บริษัทหลักทรัพย์อนุญาต
              จากที่กล่าวมานี้บัญชีประเภทนี้เหมาะสมกับลูกค้าประเภทที่มีประสบการณ์ลงทุนมาหลายปี และมีความเข้าใจในตลาดทุนพอสมควรและใช้เงินน้อยกว่าการลงทุนใน 2 แบบแรก แต่ก็มีความเสี่ยงกว่าเพราะในตอนที่ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลงก็จะขาดทุนจากเงินสดที่ตนเองลงทุน และส่วนที่กู้ยืมมาและยังเสียดอกเบี้ยอีกด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558


XB คืออะไร ! ! !
เครื่องหมาย XB คืออะไร

XB (Excluding Other Benefits) เพื่อแจ้งว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหลักทรัพย์ในช่วงขึ้นเครื่องหมาย XB จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่บริษัทจดทะเบียนประกาศให้ ดังนี้
1.ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (Public Offering)
2.ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นบุริมสิทธิ
3.ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ
4.ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิ์ได้ของบริษัทในเครือ
 
          เมื่อบริษัทจดทะเบียนประกาศให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย XB ไว้บนหลักทรัพย์ล่วงหน้า 3 วัน ทำการก่อนปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า หากซื้อหลักทรัพย์ในช่วงที่ขึ้นเครื่องหมาย จะไม่ได้รับสิทธินั้นๆ ดังนั้น หากผู้ลงทุนต้องการได้รับสิทธิ์ จะต้องซื้อหลักทรัพย์ก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XB

หมายเหตุ  ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558


Image result for set50
การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นจะมีหลักฐานอะไรบ้าง และยุ่งยากไหมใช้เวลากี่วัน
 
การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นจะมีหลักฐานอะไรบ้าง

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน (โชว์มากกว่า 1 เล่ม ก็ได้ เพื่อพิจารณาวงเงิน)

4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (บัญชีออมทรัพย์เพื่อไว้รับเงิน และเงินปันผล)

ยุ่งยากไหมใช้เวลากี่วัน

ไม่ยุ่งยากเข้าไปติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาติจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และใช้เวลาเปิดก็ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากเตรียมเอกสารถูกต้องครบถ้วย

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การดูหุ้นเก็งกำไร
Image result for หุ้น
ยังมีการเข้าใจผิดว่า เมื่อเห็นใน ticker ว่ามีการซื้อไม้ใหญ่ๆให้รีบซื้อตาม
จริงๆแล้วต้องดูหลายๆอย่าง

3ส่วนที่สำคัญคือ
1) การอ่าน ticker
2) การอ่าน bid offer
3) รู้จักนิสัยของหุ้น

การอ่าน ticker
Image result for ticker
หุ้นที่มี volume เข้าต้องดู 3 อย่าง โดยดูจาก ticker
1) ความใหญ่ของ volume ในการเข้าแต่ละไม้      เข้าที่ละ 10,000หุ้น 20,000หุ้น 500หุ้น อันนี้ไม่น่าสนใจ    เข้าทีละ 1ล้าน 3ล้านหุ้น อันนี้น่าสนใจ เพราะแปลว่ารายใหญ่กำลังเก็บของ
2) ความต่อเนื่องในการเข้า    บางครั้งไม้เล็กๆอาจไม่น่าสนใจ แต่ถ้าไม้เล็กๆนั้นมีความสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เราควรต้องเริ่มสนใจ
3) volume ที่มีอยู่ทั้ง 2 ฝั่ง   ถ้าซื้อหุ้นทีละเยอะๆ แต่ฝั่ง bid มีน้อย เราจะออกของไม่ได้ ออกได้แต่ต้องยอมเสีย 5-10 ช่อง
พอดู ticker เห็นตัวที่น่าสนใจแล้วก็มาดูลักษณะของ bid offer
การดู Bid Offer
หลักๆมี 4 แบบ
1) bid บาง และ offer บาง
ส่วนใหญ่จะเกิดที่ต้น trend แต่ volume ยังไม่เข้า มหาชนยังไม่เข้าร่วม
ถ้าเห็นว่า ticker buy อยู่เรื่อยๆให้เตรียมดูไว้ ถ้า volume เข้าจะไปได้ไกลเพราะ offer ยังบางอยู่
2)bid บาง และ offer หนา
มักเกิดที่ต้น trend ถ้าเห็นว่ามี ticker buy เรื่อยๆและมี bidoffer แบบนี้จะน่าสนใจมาก
เพราะเป็นช่วงที่รายใหญ่เก็บของโดยจะวาง offer ไว้เยอะๆ เมื่อได้ของครบแล้วรายใหญ่จะ cancle offer
และเริ่มไล่ราคาขึ้นไป หุ้นที่กำลังจะขึ้นแรงๆมักจะมีอาการแบบนี้ทุกตัว
3) bid หนา แต่ offer บาง
เกิดช่วงปลาย trend ถ้าเห็นว่ามี ticker buy เรื่อยๆ และมี bidoffer แบบนี้ให้ปล่อยไป
สังเกตุดูราคาจะไม่วิ่งขึ้นแล้ว จะมีคนคอยเติม offer ตลอด ซื้อเท่าไหร่ก็ไม่หมด รายใหญ่กำลังปล่อยของ
4) bid หนาและ offer หนา
เป็นช่วง volume peak
ถ้าเกิดที่ต้น trend และ break offer ได้ราคาจะไปไกลมาก
แต่ถ้าเป็นช่วงปลาย trend มักจะหมายถึงการออกของของรายใหญ่ ควรหลีกเลี่ยง





นิสัยของหุ้น
 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjsnIuLg6g3OyVjyLxzYDIdIDJdjOJJErXSaeXiW-yW_5yKRexdWYlAVPs_cSr5Jw9YYgxjf-4VodI9HxeeNXET4EfPfKGBGfrhOH9fK1Ty0dMCyI3bY-REEq4fiBEGNEMCevoq7kMz_LA/s1600/it.jpg
หุ้นมีหลายตัวหลายลักษณะ ดังนั้น trade setup ที่ใช้จะแตกต่างกัน
1) หุ้นบางตัวเหมาะที่จะซื้อเมื่อ break แนวต้าน
แต่จากสถติ จะได้ 30% เสีย 70% ต้องดูให้ชัวร์ว่า break จริง โดยอาศัยพวก RSI, MACD  โดยดูว่า indicator เหล่านี้ต้องยกตัวตามด้วย
2) หุ้นบางตัวเหมาะที่จะซื้อเมื่อย่อตัว หุ้นเกือบ 60% ในตลาดเป็นแบบนี้
แต่ต้องแสกนหุ้นที่อยู่ใน uptrend เท่านั้น โดยซื้อเมื่อราคาย่อลงมาที่ เส้น EMA5,15 หรือ 35
ถ้าเส้น EMA เหล่านี้ไม่หักหัวลงเวลาเกิด candle stick เขียวแท่งแรกให้รีบซื้อตาม เพราะส่วนใหญ่ราคาจะกลับไปที่ high เดิมเสมอ
3) หุ้นไม้ตกใจ
บางครั้งเวลาตลาดไม่เป็นใจจะเกิดการเทขายของรายย่อยทำให้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเราควรเข้าไปรับในจุดที่ราคาต่ำมากๆ เพราะเมื่อราคากลับมาจะเร็วและแรง

สรุป
===
-ดู ticker
-ดู bid offer
- เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับหุ้นแต่ละตัว


หมายเหตุ  ที่กล่าวมานี้เป็นหลักการเบื้องต้น  ซึ่งมีพัฒนาการที่ทาง Market Maker เห็นหากมีคนรู้มากขึ้นก็ขยับหลักการตรงนี้ออกไปอีกซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการดู