วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Dollar Index

Dollar index คืออะไร

Dollar Index นับเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเงินอันหนึ่งที่ มักจะเป็นตัวบ่งบอกถึงแนวโน้มการลงทุน หรือกระแสเงินลงทุนที่จะเคลื่อนที่ไปมาระหว่างสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ณ ปัจจุบันนักวิเคราะห์ทั่วโลก ต่างหยิบยกถึงแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์มาเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างที่เราเห็นกันในวันนี้อย่างมากมาย
แต่ทั้งนี้ ก่อนที่จะมาดูถึงความสำคัญของดัชนีค่าเงินดอลลาร์ คงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การคำนวณดัชนี นี้มีที่มาอย่างไร


Dollar Index คือ ดัชนีที่วัดมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในระบบตระกร้าเงินที่เป็นการเฉลี่ยน้ำหนักเงินสกุลต่างๆ 6สกุลหลัก ได้แก่
• Euro (EUR), 57.6% weight
• Japanese yen (JPY), 13.6% weight
• Pound sterling (GBP), 11.9% weight
• Canadian dollar (CAD), 9.1% weight
• Swedish krona (SEK), 4.2% weight and
• Swiss franc (CHF) 3.6% weight.


ซึ่งหมายความว่าเงินแต่ละสกุลจะมีน้ำหนักในตระกร้าเงินไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสัดส่วนน้ำหนัก ที่แจ้งมาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดีจะเห็นว่าเงินที่มีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ มากที่สุดคือ ยูโร เพราะมีสัดส่วนในตระกร้าเงิน 57.6% และรองลงมาคือเยน ญี่ปุ่นและ ปอนด์ อังกฤษ ตามลำดับ

โดยทั้งนี้จะเห็นว่าตระกร้าเงินดอลลาร์มีความผูกผันกับค่าเงินถึง 6 สกุลหลัก แต่มีความผูกผันถึง 20 เนื่องจากกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรมีถึง 15ประเทศ

ดัชนีนี้ ได้มีการเริ่มต้นคำนวณมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ที่ดัชนี 100 ซึ่งเคยปรับตัวขึ้นสูงสุดราว 160 และต่ำสุดที่ 70.698 ในวันที่ 16 มี.ค. 2008 ซึ่งทั้งนี้ดัชนีนี้ ได้มีการซื้อขายในตลาด IntercontinentalExchange ที่นิวยอร์ค โดยจะเริ่มทำการซื้อขายตั้งแต่ เย็นวันอาทิตย์ (16.00 น.เวลานิวยอร์ค) ตลอด24ชั่วโมงถึงวันศุกร์เย็น (16.00 น. นิวยอร์ค)


โดยสูตรการคำนวนมีดังนี้
USDX = 50.14348112 × EURUSD^(-0.576) × USDJPY^(0.136) × GBPUSD^(-0.119) × USDCAD^(0.091) × USDSEK^(0.042) × USDCHF^(0.036



Dollar Index / ความสำคัญของค่าเงินดอลลาร์
ซึ่ง ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า Dollar Index นั้นเป็นดัชนีสำคัญ ในการบอกถึงแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆดังนี้

1.ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินต่างๆ เช่น ไทยบาทต่อดอลลาร์ , เยนต่อดอลลาร์ , ปอนด์ ต่อดอลลาร์ หรือ ยูโรต่อดอลลาร์
ซึ่งหมายความว่า หาก Dollar index มีการอ่อนค่าลง ก็จะส่งผลถึงแนวโน้มของเงินสกุลต่างๆ ว่ามีโอกาสที่จะแข็งค่าต่อดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ดี การที่ค่าเงินสกุลต่าง จะแข็งค่าต่อเงินสกุลดอลลาร์อาจมีอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ สภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อมั่น และ Demand & Supply ของเงินสกุลนั้น ว่ามีมากน้อยอย่างไร


2.กระแสเงิน (Fund Flow) ที่มักจะเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีค่าเงินแข็งกว่าเงินสกุลดอลลาร์ ซึ่งจะเข้าทั้งในตลาดตราสารเงิน และตลาดทุน โดยจะเห็นว่าส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเมื่อเงินบาทไทยมีแนวโน้มที่จะแข็งค่า ก็มักจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาซื้อหุ้นจำนวนมาก จึงทำให้ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ดูจะเป็นสัดส่วนเดียวกับเงินบาทที่แข็งค่า คือต่างชาติมักจะซื้อหุ้นเมื่อเห็นว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและจะขายเมื่อเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าดังตัวอย่างในรูป


แต่อย่างไรก็ดีจะเห็นว่า ในปี 2008 เกิดการขายของนักลงทุนต่างชาติในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ก็เป็นได้ เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์ ซับไพร์ม ที่ทำให้เงินลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลกถูกเทขาย เพื่อนำเงินกลับมาอุ้มวิกฤติ ในประเทศอเมริกา

3.ราคาทองคำ
เนื่องจากเงินสกุลดอลลาร์เปรียบเสมือนเงินสกุลหลักในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งหากค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงไป ก็จะทำให้เงินดอลลาร์ถูกแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ดังเช่นทองคำเป็นต้น โดยในอดีตที่ผ่านมาทองคำเปรียบเสมือนเงินสดสกุลหนึ่งที่มีสภาพคล่องและสามารถใช้เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดี
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและดอลลาร์มักจะมีความสัมพันธ์แบบผกผันคือ หากดอลลาร์อ่อน ทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น และหากดอลลาร์แข็ง ทองคำจะปรับตัวลดลง



4.ราคาน้ำมัน
ความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันมักจะเป็นสัดส่วนผกผันกับดัชนีค่าเงินดอลลาร์ กล่าวคือ ราคาน้ำมันมักปรับตัวสูงขึ้นเมื่อค่าเงินดอลลาร์มีการอ่อนค่า

โดยปัจจัยที่ 1 คือ เงินสกุลดอลลาร์เปรียบเสมือนสกุลหลัก ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่มีอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมัน ทองคำ เหล็ก ธัญพืช ต่างใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย จึงทำให้ประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ต้องการที่จะขายสินค้า ในมูลค่าทางการเงินเท่าเดิม (คือยังได้เงินดอลลาร์มาซื้อสินค้าอย่างอื่นในปริมาณหรือขนาดเท่าเดิม) แต่หากค่าเงินดอลลาร์อ่อนก็หมายถึงอำนาจซื้อของเงินดอลลาร์ลดน้อยลง จึงทำให้ผู้ขายสินค้าเหล่านี้ปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่มมาชดเชยมูลค่าดอลลาร์ที่ขาดหายไป

ปัจจัยที่ 2 อาจเกิดสภาวะการเก็งกำไร เข้าถือครองในสินทรัพย์ โภคภัณฑ์ (commodities) มากขึ้นเมื่อ ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่า เพราะผู้ลงทุนทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะถือสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มแข็งค่ามากกว่าอ่อนค่า เพื่อรักษามูลค่าสินทรัพย์รวมที่ได้ลงทุนไว้ ดังนั้น เมื่อแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์อ่อนก็จะส่งผลให้ราคา Commodities ปรับตัวสูงขึ้น