วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

H : HALT

เครื่องหมายเอช “H”
เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหลักเกณฑ์ในการขึ้น เครื่องหมาย H ดังนี้
  • มีข้อมูลหรือข่าวสารที่สำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน หรือต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่ได้รับรายงานจากบริษัท และอยู่ในระหว่างการสอบถามข้อเท็จจริง และรอคำชี้แจงจากบริษัท และตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าบริษัทสามารถชี้แจงได้ในทันที
  • ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งน่าสงสัยว่าจะมีผู้ลงทุนบางกลุ่มทราบข้อมูลหรือข่าวสารที่สำคัญ และอยู่ในระหว่างการสอบถามข้อเท็จจริงจากบริษัท และตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าบริษัทสามารถชี้แจงได้ทันที
  • บริษัทร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากบริษัทอยู่ในระหว่างรอการเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารที่สำคัญ และตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าบริษัทสามารถชี้แจงได้ในทันทีมีเหตุอื่นใดที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น

ที่มาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สอบถามเพิ่มเติม
จิระศักดิ์  อภินทนาพงศ์
โทร 081-349-1153

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

CORPORATE GOVERNANCE  (CG)

การกำกับดูแลกิจการ (CG)
การกำกับดูแลกิจการ หมายถึง ระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำและการควบคุมของ กิจการให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุนและเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้ ถือหุ้นในระยะยาวภายในกรอบการมีจริยธรรมที่ดีโดยรวมประกอบ


ที่มา  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สอบถาม จิระศักดิ์  อภินทนาพงศ์ โทร 081-349-1153  

SP: SUSPENSION

เครื่องหมายเอสพี “SP”
เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้งมีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขาย ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหลักเกณฑ์ในการขึ้นเครื่องหมาย SP ดังนี้
  1. เมื่อเกิดกรณีเช่นเดียวกับข้อ 1 ถึง 3 ของการขึ้นเครื่องหมาย H และตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าบริษัทไม่สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลได้ในทันที
  2. บริษัทฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งมติกรรมการ ข้อตกลง ตลอดจนหนังสือเวียนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้บริษัทปฏิบัติตาม
  3. บริษัทไม่นำส่งงบการเงินให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย NP ไว้บนกระดานของหลักทรัพย์
  4. บริษัทนำส่งงบการเงินล่าช้าติดต่อกัน 3 ครั้ง
  5. หลักทรัพย์อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิกถอน หรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงสถานภาพเพื่อให้พ้นข่ายการถูกเพิกถอน
  6. หลักทรัพย์จะครบกำหนดเวลาในการไถ่ถอน หรือการแปลงสภาพหรือการใช้สิทธิ หรือการขายคืน
  7. มีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการซื้อขายหลักทรัพย์

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

TSR   ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
Image result for tsr set คือ
TSR (Transferable Subscription Right) คืออะไร?
 
- TSR เป็นใบแสดงสิทธิที่มีลักษณะคล้าย Warrant ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ถือ TSR สามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทได้ แต่ TSR จะมีอายุสั้นกว่า Warrant คือ TSR จะมีอายุไม่เกิน 2 เดือน ในขณะที่ Warrant ส่วนใหญ่จะมีอายุ 3-5 ปี
- การออก TSR มีลักษณะคล้าย Right offering: RO กล่าวคือ บริษัทจะต้องออกและเสนอขาย TSR ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายเท่านั้น แต่ TSR แตกต่างจาก RO ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ผู้ถือหุ้นเดิมสามารถขาย TSR ได้ในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิเพิ่มทุนตาม RO จะไม่สามารถนำสิทธิ RO ดังกล่าวไปขายให้แก่นักลงทุนรายอื่นได้

TSR มีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร?
 
- TSR เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ถือหุ้นมากขึ้นเมื่อเทียบกับ RO ทั่วไป กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นที่มีข้อติดขัดไม่สามารถจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทได้ จะยังสามารถได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นโดยการขายสิทธิ TSR ในตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่ประสงค์จะขาย TSR ดังกล่าว ผู้ถือหุ้นรายนั้นก็จะยังคงสามารถใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทได้ตามปกเหมือนเดิม ROโดยไม่มีการเสียสิทธิแต่อย่างใด
 
สอบถาม
Mr.Jirasak Apintanapong
Mobile 081-349-1153