วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เพิ่มความเร็วinternetในการเล่นหุ้น

เพิ่มความเร็วinternetในการเล่นหุ้น
สำหรับที่ใช้ window xp มีวิธีเพิ่มความเร็วในการเล่นหุ้นผ่านinternet ดังนี้
1.คลิกที่ Start
2.เลือก Run
3.พิมพ์คำว่า gpedit.msc
4.เลือก Computer Configuration
5.เลือก Administrative Templetes
6.เลือก Network
7.เลือก QoS Packet Scheduler
8.เลือก Limit reservable bandwidth
9.คลิกที่ Enabled
และเลือก Bandwidth limit(%) เลือก 0 %

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553


คุณสมบัติของทองคำ
ทองคำ เรียกโดยย่อว่า “ทอง” เป็นธาตุลำดับที่ 79 มีสัญลักษณ์ Au ทองคำเป็นโลหะแข็งสีเหลือง เกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาและทนทานต่อการขึ้นสนิมได้ดีเลิศ ทองคำมีจุดหลอมเหลวที่ 1064 องศาเซลเซียส จุดเดือดที่ 2701 องศาเซลเซส มีความถ่วงจำเพาะ 19.244 และมีน้ำหนักอะตอม 196.67 ลักษณะที่พบเป็นเกล็ด เม็ดกลม แบน หรือรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ รูปผลึกแบบลูกเต๋า(Cube) หรือ ออคตะฮีดรอน (Octahedron) หรือ โดเดกะฮีดรอน (Dodecahedron)
คุณสมบัติสำคัญของทองคำอีกประการหนึ่งคือ ทองคำเป็นโลหะที่อ่อนและเหนียว ทองคำหนัก 1 ออนซ์ สามารถทำให้เป็นเส้นได้ยาวถึง 50 ไมล์ และสามารถตีแผ่ทองคำให้เป็นแผ่นบางขนาด 0.00005 นิ้วได้ (หรืออาจบุเป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า 0.0001 มิลลิเมตรได้) นอกจากนี้ ทองคำยังเป็นโลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใดเลย แต่สามารถละลายได้อย่างช้าๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดินประสิวและกรดเกลือ
จุดเด่นสำคัญของทองคำอยู่ที่สี กล่าวคือ ทองคำมีสีเหลืองสว่างสดใส และมีความสุกปลั่ง (Brightness) มีประกายมันวาวสะดุดตา นอกจากนี้ยังไม่เป็นสนิมแม้จมดินจมโคลน มีความแข็งเหนียว เนื้อแน่น ไม่สกปรก ไม่หมอง ไม่เป็นคราบไคลง่ายเหมือนวัตถุชนิดอื่นๆ
คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้เป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานาน โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) : DW

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants)
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงในอนาคตในราคา จำนวน และเวลาที่กำหนด โดยผู้ออก DW เป็นบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ง่ายๆ ว่า DW มีลักษณะเหมือน Warrants ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีความแตกต่างกันที่ผู้ออก

ลักษณะทั่วไปของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อหรือขายหุ้นอ้างอิงในอนาคต ในราคา จำนวน และเวลาที่กำหนด โดยผู้ออก DW เป็นบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหุ้นอ้างอิง
ผู้ออก DW จะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดของเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับ DW ไว้ในข้อกำหนดสิทธิของ DW ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุน ตัวอย่างของรายละเอียดที่อยู่ในข้อกำหนดสิทธิ ได้แก่ ราคาใช้สิทธิ ระยะเวลาใช้สิทธิ อัตราใช้สิทธิ เหตุการณ์ที่จะมีการปรับราคาและอัตราใช้สิทธิ เงื่อนไขในการทำหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง เป็นต้น
ข้อดีของการซื้อขาย DW ก็คือ ใช้เงินลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนใน DW สูงหรือต่ำกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นอย่างมาก ข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ลงทุนสามารถจำกัดผลขาดทุนสูงสุดได้เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อซื้อ DW
อย่างไรก็ดี การซื้อขาย DW ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจาก DW มีอายุที่จำกัด นอกจากนี้ ราคาของ DW ยังเปลี่ยนแปลงตามราคาหลักทรัพย์อ้างอิง หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น การเพิ่มทุน ผู้ถือ DW ก็จะได้รับผลกระทบด้วย โดยผู้ออก DW จะปรับอัตราใช้สิทธิ เป็นต้น ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาและติดตามข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิงด้วยเพราะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อขาย DW
ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งของ DW คือความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ออก (credit risk) เนื่องจากผู้ออก DW อาจไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ ดังนั้น ในการตัดสินใจซื้อขาย DW ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาและติดตามข้อมูลฐานะการเงินของผู้ออก DW ให้แน่ใจได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ มีฐานะการเงินดี และมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี สามารถมั่นใจได้ว่า ผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DW ได้ตามที่กำหนดไว้

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants หรือ DW) ที่มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เป็นตราสารที่อ้างอิงกับราคาหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 และเมื่อมีการใช้สิทธิ ณ วันที่กำหนด ผู้ถือ DW จะได้รับชำระเป็นเงินสด (Cash Settlement) จากผู้ออก DW ในมูลค่าเท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นกับราคาใช้สิทธิ ผู้ออก DW จะไม่มีการส่งมอบหุ้นอ้างอิงให้แก่ผู้ถือ DW แต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้ออก DW เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.
การที่ผู้ออกนำ DW มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง ตลาดหลักทรัพย์ให้ความเชื่อมั่นได้ว่า เมื่อผู้ลงทุนจ่ายเงินซื้อ DW ผู้ลงทุนจะได้รับ DW ที่ซื้ออย่างแน่นอน และเมื่อผู้ลงทุนขายและส่งมอบ DW ผู้ลงทุนจะได้รับเงินค่าขาย DW อย่างแน่นอน แต่เรื่องการใช้สิทธิ ผู้ลงทุนต้องดำเนินการใช้สิทธิกับผู้ออก DW โดยตรง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ออก DW ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้รับประกันการใช้สิทธิ รวมทั้งไม่ได้รับประกันว่าผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DW
DW ที่จะมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อาจมีหลายรุ่น (Series) ที่มีหุ้นอ้างอิงเป็นหุ้นเดียวกันและมีราคาใช้สิทธิเดียวกัน แต่มีผู้ออกหลายบริษัท ดังนั้น DW แต่ละ Series จึงมีความแตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจข้อกำหนดสิทธิ DW ของผู้ออกแต่ละราย
ผู้ลงทุนจะเห็นชื่อย่อ DW บนกระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
เช่น PTT03CA PTTคือบริษัทที่อ้างอิง , 03 บริษัทหลักทรัพย์ที่ออกใบอนุญาต , C คือ Call Warrant , A คือชุดที่1

การซื้อขาย DW จะมีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถทำการซื้อขาย DW ได้เมื่อต้องการ หน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่อง คือ ทำการเสนอซื้อเสนอขายตลอดเวลา (Continuous Quotes) โดยผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ จากข้อมูลที่ผู้ออก DW เปิดเผยไว้เป็นประจำทุกเดือน


ที่มาข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย