วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

Stagflation

Stagflation
Stagflation มาจากคำ 2 คำ คือ Stagnation และInflation เป็นคำที่อธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีปัญหาเงินเฟ้อควบคู่กับภาวะการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจ, มีการว่างงานสูง ซึ่งอาจจะหมายรวมเป็นว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) คำว่า "Stag" หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจเสื่อมถอย ในขณะที่ "Flation" บ่งบอกถึง ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว Stagflation มีการบัญญัติใช้ครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษ 1970 เมื่อเศรษฐกิจของอเมริกามีอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 12% ในขณะที่อัตราการว่างงานสูงเกือบ 9% เงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 4 เท่าตัว จากการรวมหัวกันของ OPEC ประกอบกับการยกเลิกการควบคุมราคา และค่าจ้างแรงงานของรัฐบาลอเมริกันในช่วงนั้น ในขณะเดียวกัน ระบบเศรษฐกิจอเมริกันดิ่งลงสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้รัฐบาลพรรคเดโมแครต ภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว จากการไม่สามารถจัดการกับปัญหา Stagflation นี้ได้
โดยปกติปัญหาเงินเฟ้อ พร้อมเศรษฐกิจตกต่ำมักจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เมื่อสองเกลอ (ตัวแสบ) มาเจอกัน ก็เลยเกิดปรากฏการณ์ "สองเด้ง" และทำให้ผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง มีอาการปวดหัว เป็นอย่างมาก และก็มีหลายทฤษฎี หลายสำนัก แนะนำการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งผมจะไม่กล่าวในที่นี้ แต่จะขอกล่าวถึงการแก้ปัญหา stagflation ของอเมริกาในช่วงนั้นเลย
อย่างที่กล่าวข้างต้น ปรากฏการณ์สองเด้ง ทำให้ผู้แก้ไขปัญหามีอาการปวดหัวเป็นอย่างมาก เพราะว่าหากจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ (ลดดอกเบี้ย/เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ) ก็จะไปเพิ่มแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ หากจะแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ (ขึ้นดอกเบี้ย/ขึ้นภาษี) ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการถดถอยของเศรษฐกิจซ้ำเติมก็ได้ ถึงจุดนี้ก็คงต้องเลือกเอาว่าจะแก้อะไรก่อน โดยที่ไม่ทำให้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งรุนแรงมากขึ้นนัก ก็เลยเกิดเหตุการณ์ และบุคคลที่ยังเป็นที่กล่าวขวัญกันมาถึงทุกวันนี้
ประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve; Fed) ในขณะนั้นคือ นาย Paul Volcker เลือกใช้นโยบายที่เรียกว่า Disinflationary Policy. Volcker เลือกที่จะจัดการปัญหาเงินเฟ้อก่อน ในปลายปี 1979 และปี 1980 หลังจากที่อเมริกาอยู่ในภาวะ "double digit inflation" มาหลายปี Volcker ใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยจนกระทั่งดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงกว่า 20% เพื่อที่จะเอาเงินเฟ้อให้อยู่หมัด

หมายเหตุ บทความจากคุณเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
MR.JIRASAK APINTANAPONG
e-mail jirasak.dpu@gmail.com

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodites)

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodites) คือ สินค้าที่มีปริมาณความต้องการบริโภคจริงๆ และซื้อขายกันอ้างอิงกับราคาในตลาดโลก โภณภัณฑ์ชนิดเดียวจะมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกันแต่แตกต่างตรง เกรด ความบริสุทธิ์ หรือแหล่งผลิต
สินค้าโภคภัณฑ์ มี 2 ชนิด
1.สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด (Hard Commodites) คือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่ใช้แล้วหมดไปได้ ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ ต้องมีการขุดเจาะและค้นหา มีต้นทุนสูงในการขุดหา และต้องใช้เวลา ซึ่งแบ่งเป็น
- โลหะมีค่า (Precious Metal) เช่น ทองคำ เงิน เพลทตินัม พาลาเดียม
- โลหะพื้นฐาน (Base Metal) เช่น ทองแดง อลูมิเนียม ตะกั่ว ดีบุก สังกะสิ
- พลังงาน (Energy) เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
2.สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอย่างไม่จำกัด (Soft Commodities) คือ สามารถที่จะเพาะปลูกหรือทำให้มีการเติบโตขึ้นมาได้หรือผลิตทดแทนใหม่ได้ เช่น กาแฟ โกโก้ น้ำตาล ข้าว ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ผลไม้ ปศุสัตว์ แม้ว่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถขยายพันธุ์เพิ่มเติมได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็เลี่ยงปัจจัยทางธรรมชาติ การเมือง แรงงาน ฤดูกาล ลักษณะการบริโภค ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้มีความผันผวนของราคา

หมายเหตุ ข้อมูลจากสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน
จิระศักดิ์ อภินทนาพงศ์
E-mail jirasak.dpu@gmail.com

หน่วยวัดน้ำหนักทองคำที่สำคัญ

หน่วยวัดน้ำหนักทองคำที่สำคัญ
- 1 Troy Ounec = 31.1034768 gram ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
- 1 Taek (Hong Kong) = 36.70 gran ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ใต้หวัน ฮ่องกง
- 1 Baht (Thailand) = 15.244 gram ใช้ในประเทศไทย
- ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5 % (มาตรฐานในประเทศไทย)
-- ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
-- ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม

ที่มา สมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย (Gold Traders Association)
จิระศักดิ์ อภินทนาพงศ์
E-mail jirasak.dpu@gmail.com