สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodites) คือ สินค้าที่มีปริมาณความต้องการบริโภคจริงๆ และซื้อขายกันอ้างอิงกับราคาในตลาดโลก โภณภัณฑ์ชนิดเดียวจะมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกันแต่แตกต่างตรง เกรด ความบริสุทธิ์ หรือแหล่งผลิต
สินค้าโภคภัณฑ์ มี 2 ชนิด
1.สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด (Hard Commodites) คือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่ใช้แล้วหมดไปได้ ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ ต้องมีการขุดเจาะและค้นหา มีต้นทุนสูงในการขุดหา และต้องใช้เวลา ซึ่งแบ่งเป็น
- โลหะมีค่า (Precious Metal) เช่น ทองคำ เงิน เพลทตินัม พาลาเดียม
- โลหะพื้นฐาน (Base Metal) เช่น ทองแดง อลูมิเนียม ตะกั่ว ดีบุก สังกะสิ
- พลังงาน (Energy) เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
2.สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอย่างไม่จำกัด (Soft Commodities) คือ สามารถที่จะเพาะปลูกหรือทำให้มีการเติบโตขึ้นมาได้หรือผลิตทดแทนใหม่ได้ เช่น กาแฟ โกโก้ น้ำตาล ข้าว ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ผลไม้ ปศุสัตว์ แม้ว่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถขยายพันธุ์เพิ่มเติมได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็เลี่ยงปัจจัยทางธรรมชาติ การเมือง แรงงาน ฤดูกาล ลักษณะการบริโภค ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้มีความผันผวนของราคา
หมายเหตุ ข้อมูลจากสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน
จิระศักดิ์ อภินทนาพงศ์
E-mail jirasak.dpu@gmail.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น